ระบบการให้น้ำพืช

ระบบการให้น้ำพืช

ระบบการให้น้ำพืช

ระบบการให้น้ำพืช

พืชทุกชนิดมีความต้องการน้ำ โดยน้ำเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเป็นตัวละลายธาตุอาหารในดินเพื่อให้รากดูดขึ้นไปสร้างการเจริญเติบโต และคายน้ำเพื่อระบายความร้อน นอกจากนี้ยังเป็นตัวที่สำคัญในการกำหนดปริมาณและผลผลิตของพืชด้วย ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ และอายุของพืชนั้นๆ การให้น้ำน้อยไปทำให้พืช
เจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ ฯลฯ แต่ถ้ามากไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำและค่าใช้จ่าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเหมาะสมกับความต้องการน้ำของพืชนั้นๆ

ระบบการให้น้ำที่ดีจะต้องสนองความต้องการน้ำของพืชได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังต้องเป็นระบบที่เหมาะสมกับปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นความสะดวกของผู้ใช้ระบบด้วย เช่น ชนิดของแหล่งน้ำ ข้อจำกัดของเครื่อง สูบน้ำ เวลาในการให้น้ำเป็นต้น ซึ่งในการเลือกระบบที่จะมาใช้กับพืชชนิดต่างๆ ผู้เลือกจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจกับระบบการให้น้ำนั้นๆ ก่อน ซึ่งระบบให้น้ำที่ใช้อยู ่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

● การให้น้ำแบบฉีดฝอย
● การให้น้ำแบบเฉพาะจุด

การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation)

เป็นการให้น้ำโดยฉีดน้ำขึ้นไปบนอากาศเหนือต้นพืชกระจายเป็นฝอยแล้วให้เม็ดน้ำตกลงมาบนพื้นที่เพาะปลูก โดยมีเครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ส่งน้ำผ่านระบบท่อด้วยแรงดันที่สูง เพื่อให้น้ำฉีดเป็นฝอยออกทางหัวปล่อยน้ำ

การให้น้ำแบบฉีดฝอย

การให้น้ำแบบฉีดฝอย

หัวปล่อยน้ำ

เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำมาจากท่อย่อยและจ่ายให้กับต้นพืชตามปริมาณที่กำหนดหัวจ่ายน้ำมีมากมายหลายแบบซึ่งผู้ใช้จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืชสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ

● อัตราการจ่ายน้ำ หมายถึง ปริมาณน้ำต่อหน่วยเวลา
● แรงดันที่ใช้ของหัวปล่อยน้ำ
● รูปแบบการกระจายน้ำ

สปริงเกลอร์ (Sprinkler)

เป็นระบบที่ใช้แรงดันตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป และมีอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำตั้งแต่ 250 ลิตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เหมาะสำหรับการให้น้ำในบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่ได้มาก เช่น พืชไร่และพืชผักระบบสปริงเกลอร์ เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากเพียงพอคุณภาพน้ำปานกลาง การดูแลง่าย ปัญหาการอุดตันน้อย จึงไม่ต้องการระบบการกรอง แต่ถ้าคุณภาพน้ำต่ำและมีสิ่งเจือปนมาก ก็จำเป็นต้องมีระบบการกรองแรงดันที่ต้องใช้ในระบบค่อนข้างสูงทำให้การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงที่สุด

สปริงเกอร์-มินิสปริงเกลอร์

สปริงเกอร์-มินิสปริงเกลอร์

หัวสปริงเกลอร์ ทำหน้าที่จ่ายน้ำโดยฉีดน้ำจากหัวฉีดไปในอากาศแตกให้กระจายเป็นเม็ดน้ำเล็กๆตกลงมายังพื้นที่เพาะปลูกการกระจายน้ำมีรูปแบบเป็นวงกลม หรือแบบท ่อมีรูเล็กๆ ให้น้ำฉีดออกมาตลอดความยาวของท ่อระบบสปริงเกลอร์ต้องการ 2 สิ่งคือ อัตราการไหลของน้ำและแรงดัน หากแรงดันไม่พอระบบจะใช้งานไม่ได้ดีแรงดันเหมือนพลังงานในการผลักดันให้สปริงเกลอร์ทำงาน จึงจะได้อัตราการไหลของน้ำออกมาอย่างถูกต้อง แต่ก่อนที่น้ำจะไหลมาถึงบริเวณหัวสปริงเกลอร์จะเสียแรงดันไปในเส้นทางที่ผ ่าน เช่น มิเตอร์วัดน้ำท่อวาล์วกันน้ำกลับ ข้อต่อและประตูน้ำต่างๆแล้วจึงผ่านถึงหัวสปริงเกลอร์และต้องมีแรงดันเหลือพอให้หัวสปริงเกลอร์ทำงานได้แรงดันมีผลต่อการกระจายของน้ำให้โปรยทั่วพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ สำหรับต้นกล้าหรือพืชที่เพิ่งปลูกควรใช้แรงดัน
ที่สูงกว่ากำหนดเพื่อให้การแตกตัวของน้ำเป็นละอองมากขึ้น จะได้ละอองน้ำที่ละเอียด ระบบสปริงเกลอร์นิยมใช้กับพืชไร่และพืชผัก

การให้น้ำแบบเฉพาะจุด (Localize Irrigation)

เป็นการให้น้ำบริเวณรากพืชโดยตรง น้ำจะถูกปล่อยจากหัวปล่อยน้ำสู่ดินให้น้ำซึมไปในดินบริเวณเขตรากพืช ระบบนี้เป็นระบบที่ประหยัดน้ำได้อย่างแท้จริงเนื่องจากจะเกิดการสูญเสียน้ำจากปัจจัยอื่นน้อยมากและแรงดันที่ใช้กับระบบต่ำประมาณ 5-20เมตร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต้นกำลังสูบน้ำ จำแนกได้ดังนี้
● มินิสปริงเกลอร์
● ไมโครสเปรย์และเจ็ท
● น้ำหยด

มินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinkler)

เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 10 – 20 เมตร และมีอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 20 – 300 ลิตร ต่อชั่วโมง เหมาะสำหรับไม้ผลที่มีระยะปลูกตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไปและพืชผักทั่วไป
หัวมินิสปริงเกลอร์จะต่อไว้ยังจุดที่เลือกบนท่อย่อย วางไว้เหนือผิวดิน กระจายน้ำด้วยใบหมุนลงสู่ดินในบริเวณเขตรากพืช รัศมี3 – 4 เมตร ให้ปริมาณน้ำทีละน้อยเพียงพอแก ่การเจริญเติบโต เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกทั้งระยะชิดและระยะห่างใช้ได้ดีกับพืชผักได้ด้วย

สปริงเกอร์-มินิสปริงเกลอร์

สปริงเกอร์-มินิสปริงเกลอร์

หัวมินิสปริงเกลอร์ บังคับทางออกของน้ำให้มีขนาดเล็ก ข้อแตกต่างจากหัวปล่อยน้ำแบบอื่นๆ ที่ค่อนข้างจะเด่น คือมีส่วนที่หมุนได้ที่เรียกว่า ใบหมุนซึ่งเป็นตัวทำให้น้ำกระจายออกเป็นวงกว้างได้ดีกว่าสเปรย์ขนาดเล็กแบบอื่น ทำให้มีบริเวณพื้นที่เปียกมาก

ปกติหัวมินิสปริงเกลอร์จะตั้งไว้บนขาตั้งและต่อกับท่อย่อยโดยใช้ท่ออ่อนที่ถอดได้ท่อนี้ปกติมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5 เมตรเป็นประโยชน์เมื่อต้องการโค้งงอหรือเคลื่อนย้าย จุดปล่อยน้ำรอบๆ โคนต้นพืชอย่างไรก็ตาม สำหรับหัวที่ให้ปริมาณน้ำที่มากกว่า 100 ลิตรต่อชั่วโมง ควรใช้ท่ออ่อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยลดการสูญเสียแรงดัน

ไมโครสเปรย์(Micro Spray) และเจ็ท (Jet)

เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 10 – 15 เมตร และอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 10 – 200 ลิตรต่อชั่วโมง เหมาะสำหรับไม้ผลที่มีระยะปลูกไม่เกิน 4 เมตร

ระบบมินิสปริงเกลอร์ ไมโครสเปรย์และเจ็ท เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด คุณภาพน้ำค่อนข้างดีรูปล่อยน้ำมีขนาดเล็ก ต้องการระบบการกรองที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน ผู้ใช้ต้องมีความละเอียด ในการตรวจสอบและล้างไส้กรองน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน แรงดันที่ต้องใช้ในระบบปานกลาง การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยกว่าระบบสปริงเกลอร์

การให้น้ำแบบไมโครสเปรย์

การให้น้ำแบบไมโครสเปรย์

การให้น้ำแบบไมโครสเปรย์และเจ็ท เป็นรูปแบบการให้น้ำโดยหัวปล่อยน้ำกระจายน้ำเป็นฝอยหรือเป็นสาย หัวปล่อยน้ำจะไม่มีใบหมุนหรือชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวให้ปริมาณน้ำทีละน้อยเพียงพอแก่การเจริญเติบโตของพืช หัวปล่อยน้ำถูกวางไว้ยังจุดที่เลือกบนท่อน้ำ ส่วนใหญ่จะวางไว้เหนือผิวดินกระจายน้ำลงสู่ดินในบริเวณเขตรากพืชรัศมี1-3เมตร ทำให้เกิดเขตเปียกซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของดินและเวลา ให้น้ำ

โดยทั่วไปไมโครสเปรย์และเจ็ทนั้น เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกระยะชิดและต้องการความชื้นสูง ไม้ผลระยะต้นเล็กๆ และในเรือนเพาะชำ แบบที่ฉีดเป็นฝอยละเอียดจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ในที่แจ้งที่มีลมแรงปกติมักจะถูกนำมาติดโดยตรงบนท่อย่อย หรือติดบนปลายท่อสั้นๆ หรือบนขาตั้ง หัวปล่อยน้ำเหล่านี้มักใช้ในสวนผลไม้สวนกล้วย ฯลฯ

ระบบให้น้ำหยด (Drip)

เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 5 – 10 เมตร และอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 1 – 8 ลิตรต่อชั่วโมง ปล่อยน้ำจากหัวปล่อยน้ำสู่ดินโดยตรง แล้วซึมผ่านดินไปในบริเวณเขตรากพืชด้วยแรงดูดซับของดิน เหมาะสำหรับ พืชไร่ พืชผัก ที่ปลูกเป็นแถวชิดหรือไม้ผลบางชนิด

ระบบน้ำหยด เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด คุณภาพน้ำดี รูปล่อยน้ำมีขนาดเล็กมากต้องการระบบการกรองที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันผู้ใช้มีความละเอียดในการตรวจสอบและล้างไส้กรองน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวันแรงดันที่ต้องใช้ในระบบค่อนข้างต่ำทำให้การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยที่สุด

หัวน้ำหยด จะถูกติดตั้งไว้ยังจุดที่เลือกบนท่อย่อย ส่วนใหญ่หัวน้ำหยดจะวางไว้บนผิวดินก็ได้หรือสารมารถฝังไว้ในดินระดับตื้นๆ เพื่อป้องกันการเสียหายก็ได้หัวน้ำหยดจะปล่อยน้ำสู่ดินให้น้ำซึมไปในดิน ระหว่างหัวน้ำหยดด้วยแรงดูดซับ ซึ่งแรงดูดซับก็คือ การเคลื่อนที่ของน้ำผ่านดินโดยแรงดึงของดิน ส่วนอัตราการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับขนาดของช่องว่างในดินและความชื้นของดิน ช่องว่างขนาดเล็กจะมีแรงดูดซับสูง แต่การเคลื่อนที่ของน้ำจะช้า ส่วนเขตเปียกของดินจะมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของดิน เวลาให้น้ำและจำนวนของหัวปล่อยน้ำที่ใช้หัวน้ำหยดแบบต่างๆ ที่พบทั่วไป แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

หัวน้ำหยดแบบติดบนท่อ

สามารถยึดติดกับทอยอยโดยอาศัยเงี่ยงเกาะ ใช้ในโรงเรือนโรงอนุบาลพืช พืชตระกูลส้ม มะนาว ไม้ผลัดใบ ไม้ผลต่างๆ และไม้เถา เช่น องุ่น บางแบบอาจใช้แยกเป็น 4 ทางกับหัวปล่อยน้ำ ดังนั้นน้ำสามารถกระจายออกได้ 4 จุด ทำให้เป็นประโยชน์เมื่อใช้กับดินร่วนหรือดินทรายซึ่งไม่ค่อยมีการแผ่ขยายของเขตเปียก หัวน้ำหยดนี้ใช้กันมากในสวนองุ่นและสวนดอกไม้การติดหัวน้ำหยดบนท่อทำให้ยากต่อการม้วนเก็บจึงนิยมใช้ติดตั้งถาวร

การให้น้ำหยดแบบติดบนท่อ

การให้น้ำหยดแบบติดบนท่อ

หัวน้ำหยดแบบฝังท่อ

มีหัวน้ำหยดเป็นส่วนเดียวกับท่อไม่ยื่นออกมาภายนอกท่อและสามารถม้วนเก็บหลังการใช้ได้ด้วย ทีทั้งชนิดไม่ปรับแรงดันและชนิดปรับแรงดันในตัวได้

การให้น้ำหยดแบบฝังท่อ

การให้น้ำหยดแบบฝังท่อ

หัวน้ำหยดแบบเทปน้ำหยด

ประกอบด้วยท่อใหญ่ผนังบาง นำน้ำไหลผ่านต่ออยู่กับท่อเล็กเพื่อจ่ายน้ำมีลักษณะเป็นร่อง หรือ บางแบบอาจเป็นรูเล็กๆ และมีหัวน้ำหยดฝังอยู่ภายใน

การให้น้ำหยดแบบเทปน้ำหยด

การให้น้ำหยดแบบเทปน้ำหยด

เทปน้ำหยด ปกติใช้กับพืชผลต่างๆ ที่ปลูกเป็นแถว เช่น สับปะรด อ้อย มันสำปะหลัง ผักต่างๆและกล้วยยิ่งขนาดของท่อออกเล็กมากเท่าไหร่การซึมลงดินก็ยิ่งดีมากขึ้น ในการให้น้ำผักท่อน้ำหยดจะถูกวางใต้พลาสติกที่คลุมอยู่ เพื่อลดการระเหยและป้องกันผลผลิตสัมผัสกับดิน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ท่อที่ไม่มีความต้านทานต่อแสงอาทิตย์และมีราคาถูกกว่าได้การฝังท่อระดับตื้นๆ จะทำให้การค้นหาท่อภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวง่ายขึ้น

การเลือกระบบการให้น้ำที่เหมาะสมกับชนิดของพืช

ระบบน้ำหยดกับพืชไร่

เหมาะสำหรับการให้น้ำกับพืชไร่ที่มีการปลูกเป็นแถวชิด เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ที่มีระยะการปลูกระหว่างแถว 1 – 2 เมตร สามารถใช้เทปน้ำหยดวางตามแถวปลูกทุกแถว โดยใช้เทปน้ำหยดที่มีอัตรา 2 – 4 ลิตรต่อชั่วโมง ทุกช่องทางออกระยะ 30 – 50 เซนติเมตร ลักษณะการติดตั้งสำหรับขนาดพื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

ระบบสปริงเกลอร์กับพืชไร่

เหมาะสำหรับพืชไร่ ที่มีระยะปลูกทั้งแถวชิดและห่างเช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ที่มีระยะการปลูกระหว่างแถว 1 – 2 เมตรการติดตั้งไม่ต้องวางท่อย่อยทุกแถวพืช แต่ใช้ระยะห่างระหว่างแนว ท่อย่อยและระหว่างหัวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป เช่น ติดตั้งหัวสปริงเกลอร์อัตราการไหล 1 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง รัศมีการกระจายน้ำ 10 – 12 เมตร ทุกระยะ 10 x 10 เมตร สามารถติดตั้งระบบ
สปริงเกลอร์ในการให้น้ำ ลักษณะการติดตั้งสำหรับขนาดพื้นที่กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

ระบบน้ำหยดกับพืชผัก

เหมาะสำหรับพืชผักที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนวเช่น ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ที่มีระยะการปลูกระหว่างแถว 0.5 – 1 เมตรสามารถใช้เทปน้ำหยดวางตามแถวปลูกทุกแถว โดยใช้เทปน้ำหยดที่มีอัตรา 2 – 4 ลิตรต่อชั่วโมง ทุกช่องทางออกระยะ 30 – 50 เซนติเมตร

ระบบมินิสปริงเกลอร์กับพืชผัก

เหมาะสำหรับพืชผักที่ปลูกเป็นแปลงแบบหว่าน หรือแบบต้นกล้า เช่น ผักกินใบ ผักหวาน การติดตั้งสามารถวางระยะห่างระหว่างแนวท่อย่อยและระหว่างหัวประมาณ 3 – 4 เมตร เช่น ติดตั้ง หัวมินิสปริงเกลอร์อัตราการไหล 60 – 120 ลิตรต่อชั่วโมง รัศมีกระจายน้ำ 4 เมตร ทุกระยะ 4 x 4 เมตร

ระบบมินิสปริงเกลอร์กับไม้ผล

หมาะสำหรับไม้ผลที่มีระยะปลูกตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป เช่น ระยะปลูก 5 x 5, 6 x 6, 8 x 8 เมตร สามารถวางท่อย่อยตามแถวของไม้ผลทุกแถว และติดตั้งหัวมินิสปริงเกลอร์ต้นละ 1-2 หัว

ตัวอย่างเช่น ไม้ผล ระยะปลูก 5 x 5 เมตร จำนวน 80 ต้น ติดตั้งระบบมินิสปริงเกลอร์อัตราการไหล120ลิตรต่อชั่วโมง รัศมีกระจายน้ำ 2 – 4 ต้นละ 1 หัว

ระบบไมโครสเปรย์และเจ็ทกับไม้ผล

เหมาะสำหรับไม้ผลที่มีระยะปลูกไม่เกิน 4 เมตร เช่น ไม้ผลระยะปลูก 4 x 4 เมตร สามารถวางท่อย่อยตามแถวของไม้ผลทุกแถวและติดตั้งหัวไมโครสเปรย์หรือเจ็ท ต้นละ 1-2 หัว

ตัวอย่างเช่น ไม้ผล ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จำนวน 80 ต้น ติดตั้ง ระบบไมโครสเปรย์และเจ็ท อัตราการไหล 120 ลิตรต่อชั่วโมง รัศมีกระจายน้ำ 1 – 3 เมตร ต้นละ 1 หัว ลักษณะการติดตั้ง

ขอขอบคุณขอมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร

fitfarm เกษตรคนแกร่ง

error: Content is protected !!