การใช้และบำรุงเครื่องกลการเกษตร

การบำรุงเครื่องจักรกลเกษตร

การบำรุงเครื่องจักรกลเกษตร

การปฏิบัติก่อนการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมจนได้ระดับ

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นในหม้อกรองอากาศให้ได้ระดับที่กำหนด ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมจนได้ระดับ

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นในหม้อกรองอากาศ

ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นในหม้อกรองอากาศ

ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ หากไม่เต็มให้เติมด้วยน้ำสะอาดจนเต็ม และปิดฝาให้แน่น

ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ

ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ

ตรวจสอบความตึงของสายพานพัดลมระบายความร้อน อย่าให้ตึงมากเกินไป (สายพานพัดลมที่ตึงพอดี ให้ใช้มือกดที่สายพานจะหย่อนได้ประมาณ 5-10 มม.) ถ้าไม่ได้ให้ปรับตั้งให้พอดี

ตั้งสายพานให้ตึงพอดี

ตั้งสายพานให้ตึงพอดี

ก่อนการติดเครื่องยนต์ ให้ยกลิ้นและหมุนเครื่องยนต์ 10-15 รอบ เพื่อให้ปั้มส่งน้ำมันหล่อลื่นไปยังชื้นส่วนของเครื่องยนต์ให้ทั่วถึงทุกจุดก่อนเครื่องยนต์ใช้งานการเกษตร (ขณะหมุนให้คันเร่งอยู่ในตำแหน่งดับเครื่อง)

ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์

ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์

 

การปฏิบัติขณะการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

ติดเครื่องยนต์และเดินเครื่องประมาณ 3-5 นาที (ตำแหน่งเดินเบา คือ ตำแหน่งที่เร่งเครื่องเบาสุดแล้วเครื่องยนต์ไม่ดับ) เป็นการอุ่นเครื่องก่อนกรใช้งาน ขณะอุ่นเครื่องให้สังเกตเกจวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่น จะต้องเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีฟ้า (เกจสีฟ้าหมายถึงปั้มน้ำมันหล่อลื่นทำงานปกติ)

เมื่ออุ่นเครื่องยนต์แล้วให้เร่งรอบเครื่องไปยังตำแหน่งที่ใช้งาน ซึ่งสังเกตจากควันเผาไหม้ท่อไอเสีย หากเครื่องยนต์ไม่ได้รอบควันจะเป็นสีดำ ซึงจะทำให้สิ้นเปลื้องน้ำมันเชื้อเพลิงมากและเครื่องยนต์จะสึกหร่อได้รวดเร็ว

ระดับการเร่งเครื่องยนต์

ระดับการเร่งเครื่องยนต์

 

การปฏิบัติหลังการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

เมื่อสิ้นสุดการทำงาน ก่อนที่จะดับเครื่องยนต์ให้ลดระดับเครื่องยนต์ไปที่รอบเดินเบาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะดับเครื่องยนต์ ห้ามดับเครื่องยนต์โดยวิธียกลื้นไอเสีย เพราะจำทำให้สิ้นส่วนเสียหาย

ห้ามยกลิ้นไอเสียเพื่อดับเครื่องยนต์

ห้ามยกลิ้นไอเสียเพื่อดับเครื่องยนต์

หมุนเครื่องยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งอัดสูงสุด เพื่อป้องกันปัญหาลิ้นค้าง และลิ้นเป็นสนิม การหมุนเครื่องยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งอัดสูงสุดให้ทำได้ดังนี้ หมุนเครื่องยนต์ไปตามทิศทางการหมุน (โดยไม่ยกลิ้น) จนรู้สึกตึงมือ แล้วหมุนต่อไปอีกจนตัวอักษร TD บนล้อช่วยแรง (มู่เลย์) ตรงกับลูกศรหรือจัดที่ตะแกร่งพัดลม

หมุนตัวอักษร TD ให้ตรงจุดตะแกรงพัดลม

หมุนตัวอักษร TD ให้ตรงจุดตะแกรงพัดลม

เติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เติมถัง เพื่อป้องกันการเกิดน้ำในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องกับปั้มและหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์

 

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์การเกษตร ตามระยะเวลาที่กำหนด

นอกจากผู้ใช้เครื่องยนต์ต้องมีการปฏิบัติการใช้เครื่องยนต์อย่างถูกต้องแล้ว การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ตามระยะเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้อายุของเครื่องยนต์ยืนยาว ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบ 100 ชั่วโมง

ถอดหม้อกรองอากาศออกจากเครื่องยนต์ แล้วทำความสะอาดตัวหม้อกรองอากาศด้วยน้ำมันดีเซล แล้วเติมน้ำมันหล่อลื่นใหม่ เบอร์ 40 ที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลไปยังกรองอากาศให้ได้ระดับ

ทำความสะอาดหม้อกรองอากาศ

ทำความสะอาดหม้อกรองอากาศ

ถอดถ้วยกรองและใส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำมันดีเซล หากพบว่าใส้กรองอุดตันหรือฉีกขาดให้เปลี่ยนใหม่

ทำความสะอาดกรองน้ำมัน

ทำความสะอาดกรองน้ำมัน

ถ่ายน้ำมันหล่อลื่นเก่าที่อ่างน้ำมันออกให้หมด แล้วน้ำใส้กรองน้ำมันหล่อลื่นออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำมันดีเซล แล้วใส่กลับที่เดิม จากนั้นเติมน้ำมันหล่อลื่นใหม่ เบอร์ 40 ที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ใส่ไปให้ได้ระดับ

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องดีเซล

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องดีเซล

 

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบ 300 ชั่วโมง

ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากถังน้ำมันให้หมด แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำมันดีเซล

ล้างถังน้ำมันดีเซล

ล้างถังน้ำมันดีเซล

ถ่ายน้ำออกจากหม้อน้ำให้หมด แล้วทำความสะอาดรังผึ้งหม้อน้ำ เสร็จแล้วเติมน้ำสะอาดลงไปให้เติม

ทำความสะอาดหม้อน้ำ

ทำความสะอาดหม้อน้ำ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร

fitfarm เกษตรคนแกร่ง

error: Content is protected !!