การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (Vermicompost)

เพาะเลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ยหมัก

เพาะเลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ยหมัก

หมายถึงเศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ใส่เดือนดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการสลายอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นภายในลำไส้ของไส้เดือนดิน แล้วจึงขับถ่ายออกมาเป็นมูลออกมาทางรูทวาร ซึ่งมูลไส้เดือนที่ได้จะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ มีธาตุ
อาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในปริมาณที่สูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ่งในกระบวนการผลิตปุ๋ยโดยใช้ไส้เดือนดินกินขยะอินทรีย์เข้าไป และผ่านการย่อยสลายในลำไส้แล้วขับถ่ายออกมา มูลไส้เดือนดินที่ได้ เรียกว่า “ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน”

การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกพืช จะส่งผลให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น คือทำให้ดินกักเก็บความชื่นได้มากขึ้น มีความโปร่งร่วนซุย รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้จุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์บริเวณรากพืชสามารถสร้างเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จุลินทรีย์ดินที่ปนมากมากับมูลไส้เดือนดินยังสามารถสร้างเอนไซม์ฟอสฟาเตสได้อีกด้วยซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้นได้

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  • เลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะต่างๆ  เช่นกระถ่วงปลูกต้นไม้ ลังไม้ หรือบ่อซีเมนต์ เป็นการเลี้ยงขนาดเล็ก ได้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็น้อยตามขนาดที่เลี้ยง
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะเป็นชั้น เช่น ชั้นตู้พลาสติก เป็นการเลี้ยงในพื้นที่จำกัดได้ดี
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง เป็นการเลี้ยงไส้เดือนที่ใช้ทคนิคง่ายๆ ด้วยการตั้งกองอาหารสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน คลุมอาหารด้สนดินและตาข่าย แต่มีข้อกำกัดคือไส้เดือนดินสามารถหนีได้ เมื่สภาวะไม่เหมาะสม
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือน เป็นการเลี้ยงที่นิยมในฟาร์มใหญ่ เพราะสามารถจัดการสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการเลี้ยงไส้เดือนดินได้ง่าย เช่นการก่อบล็อค
  • การเลี้ยงไส้เดือนดินอัตโนมัติ เป็นการจัดการเรื่องไส้เดือนดินอย่างเป็นระบบ ทำให้จัดการได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ลงทุนสูงมาก ดังนั้นต้องมีการศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้จากไส้เดือนดินมีอยู่  2 ชนิดคือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนชนิดแห้งและชนิดน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบหรือเศษอาหารที่ใช้ โดยทั่วไปถ้าเป็นจากเศษพืชหรือผักจะได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนชนิดน้ำและแห้ง แต่มีปริมาณน้อย ส่วนมูลสัตว์จะได้ปริมาณปุ๋ยที่มากกว่า แต่ไม่ได้ปุ๋ยหมักผมไส้เดือนชนิดน้ำ

เลี้ยงไส้เดือนดินมูลวัว

เลี้ยงไส้เดือนดินมูลวัว

คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมีลักษณะเป็น เม็ดร่วน ละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุนระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูง และมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูงมาก ซึ่งผลจากการย่อยสลายอินทรีย์ที่ไส้เดือนดินดูดกินเข้าไปภายในลำไส้ และด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้และน้ำย่อยของไส้เดือนดิน จะช่วยให้ธาตุอาหารหลายหลายชนิดที่อยู่ในเศษอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เช่น เปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปไนเตรท หรือแอมโมเนีย ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้

 

และนอกจากนี้ ยังมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชชนิดอื่นและจุลินทรีย์หลายชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในลำไส้ของไส้เดือนดินอีกด้วย

ข้อมูลจากหนังสือเลี้ยงไส้เดือนให้รวย

error: Content is protected !!