ปูนา ราคาน่าสนใจเลี้ยงได้รวยเร็ว

เลี้ยงปูนารายได้ดี

เลี้ยงปูนารายได้ดี

เลี้ยงปูนา สร้างอาชีพ

ปูนา นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้และเป็นแหล่งโปรตีนที่คู่กับวิถีชีวิตของชาวนาไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะฤดูฝนจะพบเห็นปูนาในท้องทุ่งนา ตามแหล่งน้ำจำนวนมาก นอกจากนำมาทำเป็นปูดองใส่ส้มตำแล้ว ปูนายังนำมา ต้ม ผัด แกง ทอด ได้เช่นเดียวกับปูทะเล ทั้งยังมีรสชาติที่ดีไม่แพ้กันด้วย ราคาปูนาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50 ถึง 60 บาท นับเป็นราคาดีไม่น้อยทีเดียวและนอกจากจับได้จากธรรมชาติแล้ว การเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ปูนาจำหน่ายก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากนัก จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ที่ดีให้กับผู้ที่เลี้ยง

การผสมพันธุ์ของปูนา

เมื่อปูเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ขนาดประมาณ 20 มิลลิเมตร อายุ 90 วัน หรือลอกคราบประมาณ 7 ถึง 9 ครั้ง ปูเพศผู้จะมีกล้ามซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็กตามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งมีลักษณะเล็กเรียว ในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศที่เรียกที่เรียกว่าปูกระเทย ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาดถ้าอายุเท่ากัน ปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ

เมื่อเข้าไปฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหารตามแหล่งน้ำและผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะไล่ปูเพศเมียเป็นระยะๆ เมื่อได้จังหวะปูเพศผู้จะขึ้นคร้อมและใช้ขาคู่ที่ 2 ถึง 4 พยุงเพศเมียไว้ด้านหลัง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3 ถึง 4 วัน

เลี้ยงปูนา

เลี้ยงปูนา

เมื่อช่วงเข้าฤดูผสมพันธุ์ ปูนาเพศเมียจะมีการลอกคราบและมีกระดองนิ่ม รวมถึงมีอาการก้าวร้าวมาก และจะเลือกเพศผู้เพื่อผสมพันธุ์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น หากไม่ใช่ตัวที่เลือกก็จะไล่ให้ออกห่าง หากยอมรับก็จะมีการผสมพันธุ์ขึ้น โดยเพศผู้จะใช้ก้ามจับปูเพศเมียหงายขึ้นและแนบลำตัวติดจัลปิ้งของปูเพศเมีย พร้อมสอดอวัยวะสืบพันธุ์และฉีดน้ำเชื้อเข้ารูเปิดของปูเพศเมียบริเวณหน้าอก บริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ที่มีสองรูเมื่อน้ำเชื้อถูกฉีดเข้าไปจะถูกนำเข้าในถุงเก็บน้ำเชื้อของปูเพศเมีย ซึ่งเก็บได้นาน 3 ถึง 4 เดือน การผสมพันธุ์นี้จะใช้เวลา 3 ชั่วโมง

หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ปูเพศผู้จะยังตามติดปูเพศเมียต่ออีกประมาณ 2ถึง 3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองอันตรายให้ปูเพศเมีย จนมีกระดองแข็งแรงและสามารถหาอาหารได้ตามปกติ หลังจากการผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะผลิตไข่เข้าไปผสมกับน้ำเชื้อและนำออกผ่านทางท่อนำไข่มาพักเก็บไว้ที่แผ่นท้องของตัวเอง ปูแต่ละแม่จะมีไข่ประมาณ 65 ถึง 2440 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดของปู แม่ปูขนาดกระดองกว้างประมาณ 30 ถึง 500 มิลลิเมตร จะมีไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 700 ฟอง

การพัฒนาของไข่ปูนา

เมื่อได้รับการผสมพันธุ์จากปูเพศผู้แล้ว ไข่จะเริ่มพัฒนาอยู่ภายในช่องว่างภายในตัวระหว่างกระดอง การพัฒนาของไข่แบ่งได้เป็น 4 ระยะดังนี้

  • ระยะที่ 1  รังไข่ยังไม่พัฒนา มีลักษณะเป็นเส้นยาวแบนสองเส้นแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างภายในลำตัวตามขอบกระดองด้านหน้าบน
  • ระยะที่ 2 รังไข่ขยายตัวใหญ่ คุมช่องว่างภายในลำตัวประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ไข่เริ่มมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน
  • ระยะที่ 3 ไข่เริ่มขยายตัวขดไปตามช่องว่างภายในลำตัว คุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ถึง 70 ไข่มีสีเหลืองอ่อน
  • ระยะที่ 4 ไข่พัฒนาสมบูรณ์ แผ่เต็มพื้นที่เต็มช่องว่างภายในลำตัวผิวมันวาว แยกเป็นเม็ดสีเหลืองแก่หรือส้ม

ไข่เมื่อถูกพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อแยกเป็นเม็ดแล้วจะถูกส่งออกไปตามท่อนำไข่เพื่อผสมกับน้ำเชื้อที่จะถูกขับออกมาจากถุงเก็บน้ำเชื้อถ่ายที่ผสมแล้วจะถูกขับออกมาทางรูเปิดที่หน้าท้องจะผลิตสารเหนียวออกมายึดติดไข่ไว้กับขนของแผ่นหน้าท้อง

ปูนา

ปูนา

ประมาณ 10 ถึง 12 วัน ไข่ที่เหมาะสมแล้วที่ติดกับจับปิ้งในบริเวณหน้าอกก็จะฟักเป็นลูกปูขนาดเล็กโดยลูกปูเหล่านี้ยังคงเกาะอาศัยอยู่กับจับปิ้งอยู่ โดยแม่ปูจะใช้รยางค์ที่บริเวณหน้าท้องโบกสะบัดกระแสน้ำที่มีอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 20 ถึง 23 วัน ลูกปูก็จะลอกคราบเป็นลูกปูวัยอ่อน มีลักษณะครบถ้วนเหมือนพ่อและแม่ เมื่อแม่ปูเห็นว่าลูกปูแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้วก็จะใช้กล้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดออกจากจับปิ้ง

ลูกปูนาที่ฟักออกจากไข่จะฟักเป็นตัว ในขณะที่ยังอยู่ในแผนหน้าท้องของแม่ปู แล้วจะอาศัยในแผนหน้าท้องของแม่ปูนาน 2 ถึง 3 สัปดาห์ ก่อนที่แม่ปูจะใช้ขาเกี่ยวออกไปอาศัยในแหล่งน้ำ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมแม่ปูจะเก็บลูกอ่อนไว้นานขึ้น โดยลูกปูที่ฟักออกมาใหม่จะมีขนาดลำตัวเล็กเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ลำตัวจะมีสีนวลและเมื่อเจริญเติบโตจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อนและสีน้ำตาลเข้มตามลำดับ

การเลี้ยงปูนา

สามารถทำได้หลายวิธีเช่น การเลี้ยงปูนาในบ่อซิเมนต์ มีเกษตรกรทดลองเลี้ยงปูนา ทั้งบ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยม โดยเกษตรกรเลี้ยงประมาณ 10 เดือนพบว่าปูได้ขนาดที่ต้องการและเลี้ยงง่ายกินอาหารง่าย สามารถแพร่พันธุ์ได้ และขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยากข้อดีของการเลี้ยงแบบนี้คือดูแลง่ายและปูไม่หนี

วิธีการเลี้ยงปูนา

1. การเตรียมบ่อเลี้ยงปูนา

สร้างบ่อซีเมนต์ที่มีความกว้าง 2 เมตรยาว 3 เมตรและสูง 1 เมตร นำท่อพีวีซีจำนวน 2 ท่อมาใส่ไว้ในบ่อสำหรับระบายน้ำออกจากบ่อ ในกรณีที่บ่อใหม่ให้ใส่น้ำลงไปเพื่อลดความเค็มจากปูนซีเมนต์ในบ่อ ทำการเปลี่ยนน้ำในบ่อประมาณ 3 ถึง 4 ครั้ง และ อาจนำต้นกล้วยมาใส่ลงไปในบ่อเพื่อให้หายเค็มเร็วขึ้น หลังจากนั้นนำดินลงมาใส่จนมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่

บ่อควรอยู่ในที่ร่มเพราะปูไม่ชอบอากาศร้อน ถ้าอากาศร้อนมากปูจะตาย ดังนั้นบ่อเลี้ยงควรมีร่มเงาจากต้นไม้หรือมีหลังคา หรือทำตาข่ายพลางแสง ใส่ท่อหรือแผ่นกระเบื้องพื้นให้ปูมีที่ซ่อนตัว และหลบลีกเพราะว่าปูมีนิสัยชอบทำร้ายกันเอง นอกจากนี้ยังต้องมีตาข่ายปิดปากบ่อเพื่อไม่ให้ปูหนี

ทำการจัดสภาพแวดล้อมในบ่อให้เลียนแบบที่อยู่ตามธรรมชาติของปู โดยการปลูกข้าว ผักบุ้ง หญ้า สาหร่าย เพราะนอกจากที่ปูจะใช้เป็นแหล่งอาหารแล้วยังใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวได้อีกด้วย หลังจากนั้นใส่น้ำลงไปให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร

เลี้ยงปูนา

เลี้ยงปูนา

2. จับปูนามาเลี้ยง

นำปูที่จับมาจากนำน้ำธรรมชาติ โดยใช้ขนาดความยาวของลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร คัดเอาแต่ตัวที่แข็งแรงและมีขาที่ครบสมบูรณ์มาปล่อยลงในบ่อโดยใช้ตัวผู้ 25 ตัว และตัวเมีย 25 ตัว

3. การให้อาหารปูนา

ให้อาหารปูสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาหารที่ใช้เลี้ยงปูได้แก่ ข้าวสุก ปลาที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ กุ้งฝอย ผักบุ้ง ผักกาด ข้อควรระวังก็คืออย่าให้อาหารปูมากเกินไป และต้องคอยมาสังเกตดูว่าให้อาหารแค่ไหนปูถึงจะกินหมด เพราะถ้ามีอาหารเหลือน้ำก็จะบูดเน่า ดังนั้นต้องเก็บออกจากบ่อ เพราะหากทิ้งไว้เน่าจะทำน้ำให้สกปรกและปูเป็นโรค สำหรับการระบายน้ำนั้นต้องระบายน้ำออกจากบ่อและเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณเดือนละ 2 ถึง 3 ครั้ง

4. การไข่ของแม่พันธุ์ปูนา

ปูนาจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน แม่ปู 1 ตัว จะมีไข่ประมาณ 500 ถึง 700 ฟอง ดังนั้นปูนาหนึ่งตัวจะออกลูกได้ประมาณ 500 ถึง 700 ตัว และปูนาใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 6 ถึง 8 เดือนจึงจะโตเต็มที่

5.การอนุบาลลูกปูนา

กรณีที่ปล่อยลูกปู ตั้งแต่น้ำลูกปูมาใส่บ่อเลี้ยง ให้อาหารโดยลูกปูที่มีอายุในช่วง 15 วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร จากนั้นให้ปลา กุ้งสับ อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดูก เมื่ออายุประมาณ 30 วัน ก็นำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์เพื่อให้มีขนาดโตเต็มวัยปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

การวางแผนการขายปูนา

การวางแผนการขายปูนา ควรจับผลผลิตออกจำหน่ายในช่วงฤดูหนาว เพราะเป็นเวลาที่ปูมีรสชาติอร่อยที่สุด สามารถขายได้ราคาสูงกว่าช่วงเวลาอื่น ราคาจำหน่ายอยู่ที่ตัวละ  2 ถึง 5 บาท ซึ่งแม่ปูตัวหนึ่งสามารถสร้างรายได้กว่า 10,000 บาทเลยทีเดียว และหากวางแผนดีมีช่องทางการตลาดที่ดีนับเป็นอาชีพรายได้ที่น่าสนใจอย่างมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสทอเลี้ยงสัตว์นาพารวย

ขอให้ทุกคนโชคดี

coachnong

Fitfarm เกษตรคนแกร่ง

error: Content is protected !!