ชันโรงคืออะไร?
ชันโรงเป็นแมลงวงศ์เดียวกับผึ้ง มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานจากดอกไม้และละอองเกสรเพศผู้จากดอกไม้มาใช้เป็นอาหาร ชันโรงไม่มีเหล็กใน ไม่สามารถต่อยได้ พบแพร่กระจายออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ชันโรงเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรให้พืช ทั้งพืชตามธรรมชาติ และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ เงาะโรงเรียน ลำใย ลิ้นจี่ ทุเรียน กาแฟ สตรอเบอรี่ มะม่วง ส้ม พืชผัก และพืชตระกูลแตง ทำให้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น และสร้างความหลากหลายทางธรรมชาติ
ชันโรงมีขนาดที่เล็ก รัศมีการบินห่างประมาณ 300 เมตร สามารถนำมาเลี้ยงเพื่อช่วยผสมเกสรพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนับได้ว่า ชันโรงเป็นแมลงที่มีประสิทธิภาพชั้นยอดในการผสมเกสร นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของชันโรง ได้แก่ น้ำผึง และชัน ซึ่งชันมีคุณสมบัติทางยา สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆได้
ลักษณะทั่วไปของชันโรง
วรรณะของชันโรงแบ่งออกเป็น 3 วรรณะ แต่ละวรรณะ มีหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
ชันโรงนางพญา
ลักษณะทั่วไปมีลำตัวขนาดใหญ่กว่าวรรณะอื่นๆ ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับส่วนหัว และอกรวมกัน ส่วนของปีกคลุมส่วนทางไม่หมด ทำหน้าที่วางไข่ ควบคุมการปฏิบัติงานของประชากรภายในรัง ถ้าหากรังขาดชันโรงวรรณะนางพญา การทำงานจะไม่เป็นระบบ หลังจากนางพญาเริ่มผสมพันธุ์ก็จะวางไข่ ภายในรัง ชันโรงงานจะสร้างเซลล์ ใส่อาหารเพื่อรองรับไข่จากนางพญา ถัดมาชันโรงงานจะปิดเซลล์ทันทีหลังจากนางพญาวางไข่เสร็จแล้วจะไม่ถูกเปิดอีกเลย จนกว่าจะออกมาเป็นตัวเต็มวัย นางพญาจะวางไข่วันละ 20-40 ฟอง
ชันโรงงาน
เป็นวรรณะที่มีประชากรมากที่สุดในรัง มีขนาดลำตัวเล็กกว่านางพญา มีหน้าที่ทำงานภายในรังและภายนอกรัง ชันโรงงานในแต่ละช่วงอายุจะมีหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป ชันโรงทีมีอายุน้อยจะทำงานอยู่ในรัง โดยทำหน้าที่ทำความสะอาดรัง สร้างและซ่อมแซมรัง เลี้ยงตัวหนอนป้อนอาหารให้แก่นางพญา ส่วนชันโรงที่มีอายุมาก จะทำงานนอกรังโดยบินออกไป เก็บน้ำหวาน เกสร ยางไม้ และป้องกันรัง
วงจรชีวิตของชันโรง
- ระยะไข่
- ระยะตัวหนอน
- ระยะดักแด้
- ระยะตัวเต็มวัย
โครงสร้างของรังชันโรง
- กลุ่มถ้วยน้ำผึ้ง
- กลุ่มถ้วยเกสร
- กลุ่มดักแด้อ่อน และดักแด้แก่
- ตัวเต็มวัย นางพญา ชันโรงงาน และชันโรงตัวผู้
- ปล่องปากเข้าออก
การเตรียมการ ก่อนการเลี้ยงชันโรง
กล่องหรือภาชนะที่เลี้ยงชันโรงวรเป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูก คงทน และควบคุมอุณหภูมิได้ ส่วนใหญ่นิยมทำจากไม้ ที่มีความหนา จะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี
ชุดปฏิบัติสำหรับแยก หรือขยายพันธุ์ชันโรง เสื้อผ้าที่ควรใส่เป็นสีออ่อน หลีกเลี่ยงสีดำ เพราะชันโรงชอบตอมสีดำ จะทำให้เกิดการสูญเสียประชากรชันโรง การมีหมวกตะข่ายใช้สำหรับป้องกันชันโรงตอมและกัด ควรหลีกเลี่ยงสีดำและสีขาว
พันธุ์ชันโรง ควรเป็นชนิดที่ปรับตัวได้ดีและทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี นางพญามีประสิทะฺภาพในการวางไข่ และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
การแยกขยายพันธุ์ชันโรง การเลือกรังชันโรง ที่จะขยายพันธุ์ ภายในรังควรมีปริมาณตัวโตเต็มวัยตัวอ่อนและดักแด้มากพอสมควร มีอาหารน้ำผึ้งและเกสรเพียงพอ
การเลี้ยงและการจัดการชันโรง
การวางรังชันโรง จะต้องดูความเหมาะสม สถานที่ตั้งรัง ความปลอดภัยจากสารเคมี ศัตรูชันโรง รวมทั้งสภาพลมฟ้าอากาศ ไม่ร้อนจัดและหนาวจัด ถ้าฝนตดชุกรังจะผุและมีความชื้นสูง ควรมีหลังคาหรือพลาสติกคลุม และมีขาตั้งรัง เพื่อป้องกันศัตรูชันโรง เช่น มด คางคก จิ้งจก จิ้งเหลน เป็นต้น บริเวณสถานที่ตั้งมีอาหารเพียงพอ ทั้งน้ำหวาน และเกสร ตลอดทั้งปี มีารตรวจเชคสภาพรังอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
ผลิตภัณฑ์ชันโรง
- น้ำผึ้งชันโรง
- ชันผึ้งหรือยางไม้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการเกษตร