ธรรมชาติของปลาหมอ
ปลาหมอไทยเป็นปลาน้ำจืด สามารถพบได้ตามแม่น้ำ หนอง บึง เป็นปลาที่มีความทนต่อปริมาณน้ำน้อยๆ หรือขาดน้ำได้เป็นเวลานาน ปลาหมอหนึ่งตัว สามารถแพร่พันธุ์และวางไข่ได้จำนวนมาก เป็นปลากินพืชและกินเนื้อ ที่เจริญเติบโตได้เร็ว สามารปรับตัวได้ดี
ปลาหมอ เป็นปลาที่สามารถปีนป่ายข้นบนบกเพื่ออพยพหาแหล่งน้ำได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน การปีนป่ายของปลาหมอ จะใช้ส่วนล่างของกระดูกกระพุ้งแก้ม รวมถึงแผ่นเหงือกช่วยเกาะปีนไปข้างหน้าตามพื้นดิน
ขนาดลำตัว และการเจริญเติบโตของปลาหมอไทย
ปลาหมอไทยโตเต็มวัยที่สามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้ จะมีอายุประมาณ 5 เดือน หลังจากฝักออกเป็นตัวแล้ว ขนาดความยาวประมาณ 9-10 เซนติเมตร น้ำหนัก 30-40 กรัม อัตราการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล มีช่วงการเจริญเติบโตที่ดีในในฤดูฝน ในฤดูหนาวการเจริญเติบโตจะช้าหรือหยุดชะงัก และเป็นปกติเมื่อพ้นฤดูหนาว
การแยกเพศปลาหมอไทย
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดโต และมีน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ และความกว้างของลำตัวมากกว่าเพศผู้ ส่วนเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย และความกว้างของลำตัวสั้นกว่า เมื่อถึงฤดูปลามีไข่ ปลาหมอเพศเมียจะมีท้องอูมเป่ง อวัยวะเพศขยายใหญ่ มีสีแดง ส่วนปลาหมอเพศผู้จะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อจับส่วนโคนหาง แลาหมอเพศเมียจะหนากว่าปลาหมอเพศผู้
รังไข่ของปลาหมอไทยมีลักษณะบาง มีเป็นคู่ แยกออกเป็นสองพูในช่องท้อง รังไข่ใหม่จะมีสีชมพูแก่ และมีเม็ดไข่สีนวลขนาดเล็ก เมื่อรังไข่แก่จะมีสีเหลือง และมีเส้นเลือดฝอย มาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ขนาดไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร
จำนวนไข่ปลาหมอจะขึ้นกับขนาดเป็นสำคัญ มีการศึกษาจำนวนไข่ของปลาหมอ พบว่า ปลาหมอขนาด 38 กรัม จะมีไข่ประมาณ 2200 ฟอง ขนาด 100 กรัม จะมีไข่ประมาณ 12000 ฟอง และขนาด 145 กรัม จะมีไข่ประมาณ 28000 ฟอง
การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย
โดยธรรมชาติ ปลาหมอไทยวางไข่ในช่วงฤดูฝนเหมือนปลาอื่นๆ ในช่วงพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะน้ำใหม่หรือฝนแรก ปลาหมอตัวเมียที่พร้อมจะวางไข่จะมีหน้าท้องที่อูมเป่ง และนิ่ม ส่วนตัวผู้จะมีลักษณะปกติ ก่อนวางไข่ตัวผู้จะก่อหวอดที่เคลือบด้วยสารเมือกเกาะติดกันเป็นกลุ่มฟองอากาศ บริเวณก่อหวอดมักเป็นน้ำตื่น มีกอหญ้า ปลาตัวเมียจะไปวางไข่ใต้หวอด และตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมไข่ปลาหมอ ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส จะพัฒนาการจนฟักออกเป็นตัวอ่อนต่อไป
การกระตุ้นให้ปลาหมอวางไข่
- การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ ขั้นแรกให้คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่ และน้ำเชื้อสมบูรณ์ ตัวใหญ่ ไม่มีรอยโรค ต้องให้มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป น้ำหนักตั้งแต่ 60 กรัมขึ้นไป ตัวเมียท้องอวบอูม ส่วนตัวผู้บีบบวิเวณอวัยวะเพศจะมีน้ำสีขุ่นออกมา
- การกระตุ้นให้วางไข่ นิยมทำได้ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคมของทุกปี แต่นิยมทำในบ่อซีเมนต์ เพราะง่ายต่อกรจัดการ การกระตุ้นจะใช้การฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้แก่ตัวเมีย ฮอร์โมนที่ใช้ชื่อบูเชอรีลีน ขนาดความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม และสารระงับการหลั่งฮอร์โมนชื่อ โดมเพอริโน ขนาด 5 – 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้งและฉีดฮอร์โมนแก่ปลาตัวผู้ 5-10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม
- เมื่อฉีดกระตุ้นเสร็จ ให้ปล่อยปลาผสมพันธ์ุ และวางไข่ในบ่อวางไข่ที่มีกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่ออนุบาลแรกสำหรับพ่อแม่ปลา และมผ้าโอล่อนแก้วรองรับไข่ปลาอีกชั้นหนึ่ง อัตราพ่อแม่ปลาเท่ากับ 1 ต่อ 1 ให้พ่นสเปรย์น้ำ และถ่ายเปลี่ยนน้ำ 8-12 ชั่วโมง เมื่อปลาวางไข่หมดแล้วจึงกระชังตาห่างและพ่อแม่ปลาออก ลูกปลาจะฟักออกเป็นตัวประมาณวันที่ 4-5 หลังวางไข่ และอนุบาลต่อไป
การอนุบาลลูกปลาหมอ
การอนุบาลลูกปลาหมอมักทำในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ที่ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร หากมีการเพาะเลี้ยงมากจะนิยมในบ่อดิน เพราะจะไม่แออัดเกินไป กรณีเพาะเลี้ยงน้อยก็ใช้บ่อซีเมนต์
ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดยาวประมาณ 1.9 มิลลิเมตร หน้าท้องมีถุงอาหารขนาดใหญ่ที่เป็นอาหารสำรองหลังฟักตัว และยุบประมาณ 3 วัน
การอนุบาลในบ่อดิน ให้หว่านปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมผสมปลาป่น และรำละเอียดอย่างละ 3 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ต้อนสัตว์
ระยะการให้อาหารลูกปลาหมอ
- อายุ 1-3 วัน ให้อาหารจากถุงอาหาร
- อายุ 4-10 วัน ให้โรติเฟอร์ ร่วมกับไข่แดงต้มบดผ่านผ้า
- อายุ 10-27 วัน ให้ไรแดง ร่วมกับไข่แดงต้มบดผ่านผ้า
- อายุ 24-32 วัน ให้อาหารสำเร็จรูป โปรตีน 30-35 %
- อายุ 33-78 วัน ให้อาหารสำเร็จรูป โปรตีน 30-35 %
เมื่ออนุบาลลูกปลาได้ 3 สัปดาห์ ให้ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำเป็น 80 เซนติเมตร ควรตรวจโรติเฟอร์ และไรแดงในบ่อ และลูกปลาทุกวัน บ่อที่อนุบาลควรมีหลังคากันแดด และใส่ผักบุ้งหรือไม้น้ำ เมื่อปลามีขนาดเท่าใบมะขาม ก็ปล่อยเลี้ยงได้
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน
เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัวต่อตารางเมตร ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย ประมาณ 25-50 คู่ต่อไร่ จะได้ลูกประมาณ 50000-100000 ตัวต่อไร่
ขอขอบคุณข้อมูลจากเลี้ยงสัตวนาพารวย
coachnong
fitfarm เกษตรคนแกร่ง