สายพันธ์ุแมลงดา
แมลงดานาที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์คือ แมลงดานาพันธุ์หม้อ ขอบปีกมีลายสีทองและคลุมไม่มิดส่วนหาง ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและมีไข่ดก จึงจะพบพันธุ์นี้วางขายอยู่มากในท้องตลาด แมลงดานาพันธุ์ลาย ขอบปีกมีลายสีเทาเช่นเดียวกัน แต่จะคลุมมิดส่วนหาง มีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และแมลงดาพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง มีสีเหลืองทั้งตัว แล้วจะจำนวนไข่ไม่แน่นอน เช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยชอบกินแมลงดาพันธุ์อื่นๆเป็นอาหาร ดังนั้นควรแยกพันธุ์นี้ออกไปเลี้ยงต่างหาก
วงจรชีวิตของแมลงดา
วงจรชีวิตของแมลงดาแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะไข่ หลังจากผสมพันธุ์ แม่แมลงดานาจะวางไข่ตามก่อไม้น้ำสูงจากผิวน้ำประมาณ 5 ถึง 10 นิ้ว โดยจะปล่อยวุ้นออกมาสำหรับให้ไข่ยึดติดกับไม้น้ำและวางไข่เป็นกลุ่มเรียงเป็นแถว 100 ถึง 200 ฟอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ แมลงดานาชอบที่เงียบและไม่มีเสียงรบกวน สำหรับการวางไข่ ไข่ที่วางใหม่จะมีสีนวลและลายริ้วน้ำตาลประกอบ แล้วจะให้ค่อยคล่ำเมื่อไข่แก่ หลังจากตัวเมียวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลจนกว่าตัวออกจะฟักเป็นตัวได้หากินเองได้ ส่วนตัวเมียจะไปที่อื่นเพราะหากอยู่ใกล้ไข่จะมีพฤติกรรมกินไข่ตัวเอง
ระยะตัวอ่อน ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 7 ถึง 8 วัน โดยด้านบนของไข่เปิดออกหรือยังการเรียกว่าเปิดฝาชีหรือหมวก ตัวอ่อนจะอยู่ในท่าหงายท้องแล้วร่วงลงในน้ำแ ต่อยู่ในสภาพนิ่งบนผิวน้ำสักครู่หนึ่งเดี๋ยวจึงดำน้ำลงไป ตัวอ่อนเกิดใหม่มีสีนวลไม่มีปีกและอวัยวะต่างๆยังไม่สมบูรณ์ แล้วสีจะค่อยเพิ่มขึ้นเข้มขึ้น ซึ่งจะช่วยเหลือตัวเองและเริ่มกินเหยื่อได้ประมาณครึ่งชั่วโมงหลังจากออกจากไข่ ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมากเพราะต้องระวังเรื่องการขาดแคนอาหารและพื้นที่เลี้ยงแคบเกินไป ซึ่งทำให้เกิดปัญหาลูกแมลงดากินกันเองจนคอกหนึ่งเหลือเพียงไม่กี่ตัว
ระยะตัวเต็มวัย แมลงดานาจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 5 ถึง 7 วัน ถึงจะเป็นตัวเต็มวัยมีปีกสมบูรณ์ นับตั้งแต่จนไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 32 ถึง 43 วัน แล้วจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่ออายุประมาณ 62 ถึง 83 วัน ปกติแมลงดานาจะมีอายุขัยที่ประมาณ 2 ปี
ขั้นตอนการเลี้ยงแมลงดานา
สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงเริ่มจากเตรียมบ่อ ซึ่งมี 2 รูปแบบคือบ่อดินซึ่งเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่เน้นเลียนแบบธรรมชาติ โดยขุดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดกว้างยาวพอประมาณ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ต้องการเลี้ยง บ่อดินขนาดประมาณ 4 ตารางเมตรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้ประมาณ 300 ตัว ความลึกให้ได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ทำโครงไม้คลุมบ่อ ล้อมด้วยตาข่ายไนลอนป้องกันแมลงดานาหนี โดยโครงสร้างของตาข่ายที่คลุมนี้ ต้องมีขนาดใหญ่พอที่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานและจับแมลงดานาได้สะดวกพร้อมจัดสภาพบ่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ปลูกไม้น้ำเพื่อเป็นที่อาศัยแล้ววางไข่ของแมลงดานา
ด้านบนพลางแสงด้วยสแลน และไม่ควรให้ทึบเกินไปต้องมีแสงส่องลงมาได้บ้าง หรืออาจใช้ทางมะพร้าวแห้งมาพลางแสงแทนก็ได้ จัดสภาพแวดล้อมของบ่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด มีกิ่งไม้และปลูกไม้น้ำเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและใช้วางไข่ของแมลงดานา ติดสปริงเกอร์สำหรับทำฝนเทียม บ่อควรมีประตูระบายน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำให้คงที่และสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้อย่างสะดวก โดยไม่กระทบแมลงดานาที่เลี้ยงอยู่
บ่อดิน มีความสำคัญสำหรับใช้พักฟื้นพ่อแม่พันธุ์ที่จับมาจากธรรมชาติ หรือใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้วางไข่ตลอดจนใช้เลี้ยงแมลงดานาระยะเต็มวัยจนถึงจับจำหน่าย ซึ่งเป็นบ่อที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนที่ต่ำ แต่ทว่าหากเลี้ยงแมลงดานาในระยะฟักไข่จะมองเห็นตัวอ่อนได้ยาก ทำให้คัดแยกออกมาเลี้ยงได้ลำบาก ดังนั้นเลี้ยงในบ่อดินควรแยกไข่ออกมาบ่อต่างหาก
บ่อเลี้ยงแบบถังไฟเบอร์ ซึ่งใช้ถังไฟเบอร์ขนาด 1000 ลิตร ดัดแปลงถังให้มีประตูระบายน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำให้คงที่อยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 30 เซนติเมตร ติดตั้งสปิงเกอร์เพื่อทำฝนเทียมหลอกด้านบน ปิดปากบ่อด้วยตาข่ายไนลอนป้องกันแมลงดานาบินหนี ในบ่อจัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติโดยนำกิ่งไม้และพรรณไม้น้ำใส่ลงไป เพื่อเป็นที่เกาะอาศัยใช้ไม้ไผ่พันด้วยตาข่ายห้อยจุ่มน้ำไว้เพื่อให้แมลงดานาวางไข่
บ่อเลี้ยงแบบถังไฟเบอร์ทำให้มองเห็นแมลงดานาได้ง่าย เนื่องจากบ่อมีสีสดใสตัดกับสีของแมลงดานา โดยเฉพาะในระยะตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่ ทำให้สามารถแยกไปเลี้ยงได้ง่าย อย่างไรก็ตามยังแนะนำให้นำไข่แมลงดานามาฝักต่างหาก ซึ่งทำให้จัดการได้ง่ายกว่ารวมถึงการให้อาหารหรือจัดการด้านต่างๆก็ทำให้มองเห็นได้ง่าย แต่ทว่าเลี้ยงแมลงดานาได้จำนวนจำกัดแล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย
สถานที่เลี้ยงแมลงดานา ควรเงียบสงบไม่มีผู้คนรบกวนทั้งกลางวันและกลางคืน และในเวลากลางคืนก็ไม่ควรมีแสงส่องบริเวณปากบ่อเลี้ยงเพราะทำให้แมลงดานาบินวนไปมาและเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่
แหล่งพันธ์ุของแมลงดาที่นำมาเลี้ยง ผู้เลี้ยงอาจรวบรวมได้จากธรมชาติช่วงต้นฤดูฝน เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม แลช่วงปลายฤดูฝนเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือซื้อตามแหล่งที่มีจำหน่าย ส่วนใญ่จะอยู่ตามตลาดชายแดน โดยคัดเลือกแมลงดาที่โตเต็มที่แต่ไม่แก่เกินไป ซึ่งพิจารณาจากสีของแมลงดานา เนื่องจากแมลงดานามีอายุประมาณ 1-2 ปี
นำพ่อแม่พันธุ์ไปปล่อยเลี้ยงในบ่อ ในอัตราส่วน 5 คู่ต่อ 1 ตารางเมตร หากเ็นถังไฟเบอร์ขนาด 1000 ลิตร จะเลี้ยงได้ 5 คู้่พอดี ให้อาหารเป็นลูกกบมีชีวิต ปล่อยลงบ่อตามจำนวนที่เลี้ยง และค่อยๆเสริมเหยื่ออย่าให้ขาด แมลงดานาจะเกาะอยู่สงบนิ่ง ปล่อยให้เหยื่อว่ายน้ำเล่นจนเพลิน เมื่อเหยื่อเคลื่อนที่เข้ามาใกล้จะจับเหยื่อไว้แน่นแล้วแทงด้วยปากที่แหลมคม พร้อมกับปล่อยสารบางชนิดเข้าไปในตัวเหยื่อจนหมดแรงและตายในที่สุด แมลงดานาดูดน้ำเลี้ยงหรือของเหลวในเหยื่อจนหมด ทำซ้ำหลายครั้งจนอิ่มและปล่อยเหยื่อทิ้งไป ดังนั้นควรหมั่นเก็บซากเหยื่อที่แมลงดาดูดกินหมดแล้ว รวมถึงเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
เมื่อเห็นว่าแมลงดานามีความสมบูรณ์ดีอกระตุ้นให้แมลงดานาวางไข่ โดยเปิดสปริงเกอรไว้เหนือบ่อ เพื่อทำฝนเทียมหลอก เปิดในช่วงเวลาประมาณ 18.00-23.00 น. 3-4 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันทุกวัน แต่ไม่ควรเปิดทั้งคืนเพราะทำให้ตัวเมียไม่วางไข่ รวมถึงน้ำในบ่อต้องนิ่ง และมีปริมาณคงที่ ดังนั้นควรมีรูระบายน้ำเพื่อให้ปริมาณน้ำคงที่
หลังจากทำฝนเทียมได้ 4-5 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ แมลงดานาก็เริ่มวางไข่ออกมาให้เห็นตามกอไม้น้ำ กลุ่มละประมาณ 100-150 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว ควรนำตัวเมียออกจากบ่อ เนื่องจากแมลงดานามีฟฤติกรรมกินไข่ตัวเอง จากนั้นจึงนำแม่พันธ์ุไปพักฟิ้น เลี้ยงเพื่อเตรียมผสมพันธ์ุต่อไป แม่พันธุ์ 1 ตัว จะให้ไข่ได้ประมาณ 3 ครั้ง
ส่วนตัวผู้จะทำหน้าที่ฟักไข่ โดยมาเกาะที่ไข่ในลักษณะหัวทิ่มลง หากฝนตกจะช่วยป้องกันโดยใช้ส่วนหางปิดไข่ แต่ถ้าอากาศร้อนเกินไปจนไข่แห้ง ตัวผู้ก็จะลงน้ำเพื่อให้ตัวเองเปียกแล้วขึ้นมาเกาะไข่ไว้ตามเดิม ซึ่งไข่แมลงดานาที่ออกมาใหม่ จะมีขนาดเล็กแล้วค่อยๆ พองขึ้นตามอายุอปล่อยให้พ่อพันธุ์แมลงดานาฟักไข่ประมาณ 5-6 วัน จากนั้นจึงย้ายไข่มาไว้ที่บ่อฟัก หรืออาจเก็บไข่มาไว้ที่บ่อฟักทันทีหลังจากตัวเมียวางไข่เลยก็ได้ โดยใช้ภาชนะที่สามารถคัดแยกตัวอ่อนได้ง่าย จากนั้นนำกิ่งไม้ที่มีไข่อยู่มาผูกห้อยเหนือผิวน้ำ อายุไข่ประมาณ 10 วัน หมวกไข่ก็เปิดออก ตัวอ่อนที่อยู่ข้างในก็หล่นลงน้ำ นำตัวออ่อนมาแยกเลี้ยงต่อไป
ศัตรูของแมลงดานา
ระยะไข่จะมีมดมาไต่ตอมและกินไข่ในขณะที่กำลังฟักเป็นตัว นอกจากนี้ยังมีเชื้อราหากไข่ฟักปักอยู่ใกล้น้ำเกินไป รานี้มีสีขาวเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะลุกลามไปทั้งรัง
ระยะตัวอ่อน แมลงดานาด้วยกันเอง เป็นศัตรูสำคัญ ถ้าหากมีอาหารไม่เพียงพอแมลงดานาก็จะกินกันเอง โดยเฉพาะบ่อเลี้ยงที่มีแมลงดานาหลายๆรุ่น
ระยะตัวเต็มวัย ก็คือ เห็บ โดยมันจะเกาะบริเวณส่วนท้องและคอ ดูดเลือดหรือน้ำเลี้ยงของแมลงดานา ทำให้แมลงดานาเจริญเติยโตไม่ดีเท่าที่ควร อาจเกิดจากการเลี้ยงในบ่อที่แน่นเกินไป แก้ไขโดยระบายน้ำออกใส่น้พใหม่เข้าไป และลดจำนวนแมลงดานาในบ่อให้น้อยลง และอีกปัญหาหนึ่งคือตัวทาก ซึ่งเป็นตัวเล็กๆ คล้ายปลิง จะมาเกาะที่ตัวแมลงดานา เพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้แมลงดานาเจริญเติบโตไม่เต็มที่เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือสัตว์นาพารวย
coachnong