ดินข้างทางปลูกพืชได้หรือไม่
ดินทั่วไป ได้แก่ดินภูเขา ดินในนา ดินริมแม่น้ำ หรือแม้แต่ดินตามชนบท ดินเหล่านี้มีองค์ประกอบโครงสร้าง รวมถึงลักษณะของดินแตกต่างไปตามแหล่งที่มา จึงไม่เหมาะนำมาเพาะปลูก หากจำเป็นจริงๆ ควรระวังดินตามริมแม่น้ำเป็นพิเศษ เพราะมีโลหะหนักปนเปื้อนง่าย
ในทางตรงกันข้าม บางที่อาจปลูกผักในดินทั่วไปแล้วเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพายาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมี แต่อาจมีแมลง ไข่แมลง หรือเชื้อโรคปะปนอยู่ แนะนำให้นำดินไปตากแดดก่อนประมาณ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงปลูกผักได้อย่างปลอดภัย
ข้อดีของดินทั่วไป
- อุ้มน้ำได้ดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง
- อุดมไปด้วยจุลธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
- เนื้อดินมีลักษณะแน่น ทำให้พืชไม่เอนหรือล้มง่าย
ข้อเสียของดินทั่วไป
- องค์ประกอบของดินไม่แน่ชัด
- หากเป็นดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน จะมีความเป็นกรดสูง (ดินเปรี้ยว)
- อาจจะปนเปื้อนโลหะหนักสูง
- อาจมีเชื้อโรค ไข่แมลง และเมล็ดวัชพืช
- น้ำหนักมาก เนื้อดินมีลักษณะแข็ง
- ถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี
ดินผสมร่วนซุยเกินไปควรทำอย่างไร
ดินผสม เป็นดินสำเร็จรูปที่ผสมส่วนผสมต่างๆ มาให้แล้ว จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่มีข้อเสียคือ ดินผสมมีน้ำหนักเบามากและเนื้อดินก็ร่วนซุยเกินไป
ดังนั้น เมื่อปลูกพืชขนาดใหญ่อย่างข้างโพด มะเขือ มะเขือเทศ หรือพริกหวาน ลำต้นของพืชจะล้มง่าย ทางที่ดีควรนำไปผสมกับดินทั่วไป ในปริมาณ 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 4 ของดินผสม นอกจากนี้ ให้ผสมปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยรองพื้นในปริมาณ 1 ใน 8 ถึง 1 ใน 10 ของดินผสมด้วย
ผสมดินอย่างไรให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม
- ขั้นตอนที่ 1 ใส่ปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัม (ประมาณ 0.5 ลิตร) ลงภาชนะ
- ขั้นตอนที่ 2 ใส่ดินผสม
- ขั้นตอนที่ 3 ใส่ดินทั่วไป 10 กิโลกรัม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ขั้นตอนที่ 4 รดน้ำแล้วหยอดเมล็ดพืชลงไป
- ขั้นตอนที่ 5 รดน้ำอีกครั้งเพื่อให้ดินชุ่มชื่น
ข้อดีของดินผสม
- สะอาดปลอดเชื้อโรค มีลักษณะร่วนซุย (เป็นข้อดี ข้อเสียในเวลาเดียวกัน)
- ถ่ายเทอากาศได้ดีและระบายน้ำดี
- หาง่าย สะดวก
ข้อเสียดินผสม
- เนื้อดินร่วนซุย ไม่แน่น จึงทำให้พืชล้มเอนง่าย
- โครงสร้างของดินค่อนข้างขาดจุลธาตุ
- ความอุดมสมบูรณ์ของดินอาจต่ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือมือใหม่หัดปลูกผัก
ขอให้ทุกคนโชคดี
coachnong