ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมีทั้งหมด 16 ชนิดได้แก่แคาร์บอน ไฮโดเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานิส สังกะสี โบรอน โมลิบดีนัม และคลอรีน
สำหรับ คาร์บอน ไฮโดเจน และออกซิเจน พบได้ทั่วไปในอากาศและน้ำ จึงควรรักษาปริมาณน้ำในดินและการถ่ายเทอากาศไว้ให้ดี ส่วนธาตุที่เหลืออีก 13 ชนิด จะแบ่งตามปริมาณที่พืชต้องใช้ในการเจริญเติบโต
ไนโตรเจน ปุ๋ยบำรุงใบ
ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของก้านและใบ จึงมีความสำคัญต่อผักกินใบเป็นพิเศษ มักละลายหายไปเมื่อรดน้ำหรือฝนตก นอกจากใส่ปุ๋ยรองพื้นแล้ว ควรใส่ปุ๋ยบริเวณหน้าดินในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ การใส่ปุ๋ยเกินขนาดจะทำให้ใบใหญ่และอ่อนแอ ผักล้มง่าย ความต้านทานโรคพืชและป้องกันแมลงลดลง แต่หากใส่น้อย จะทำให้ใบเจริญเติบโตได้ไม่ดีและสีซีดจาง จึงต้องพิจารณาการเจริญเติบโตของพืชตามความเป็นจริงด้วย
ฟอสฟอรัส ปุ๋ยบำรุงผล
ฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารหลักของปุ๋ยที่ใช้บำรุงผล จึงสำคัญอย่างยิ่งต่อผักตระกูลแตง พริก และมะเขือ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ เมื่อปลูกพริก มะเขือ สามารถใส่ปุ๋ยหมักที่มีส่วนประกอบของฟอสฟอรัสในปริมาณมาก เป็นปุ๋ยรองพื้น
หาก ฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ นอกจากส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผลแล้ว รากก็ได้รับผลกระทบด้วย การต้านทานโรคพืชจะลดลง สุดท้ายทำให้ผลการเจริญเติบโตได้ไม่ดี
โพแทสเซียม ปุ๋ยบำรุงราก
โพแทสเซียม หรือเรียกอีกอย่างว่าปุ๋ยบำรุงราก มีความสำคัญต่อผักที่มีรากสะสมอาหารเช่น หัวไชเท้า มันเทศ หากใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมไม่เพียงพอจะส่งผลกระทบต่อผลผลิต
นอกจากนี้ ปุ๋ยโพแทสเซียมยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของรากด้วย ถ้าได้รับน้อยเกินไปจะทำให้การต้านทานโรคพืชลดลง ปุ๋ยโพแทสเซียมและปุ๋ยไนโตรเจนมีคุณสมบัติเหมือนกันคือละลายน้ำ เมื่อฝนตกจึงละลายหายไปง่าย ดังนั้นนอกจากใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นแล้วควรใส่ปุ๋ยบริเวณหน้าดินในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกัน
ปุ๋ยที่มีในดินอยู่แล้วคือ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
แคลเซียม มีอยู่ปริมาณมากในดิน ในดินเปรี้ยวมากขาด แมกนีเซียม ซึ่งเติมปุ๋ยหมักที่มีแมกนีเซียมเพิ่มลงไปได้ ส่วนกำมะถันจะมีปริมาณมากที่สุด
เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดีนัม และ คลอรีน
แม้พืชจะต้องการจุลธาตุทั้ง 7 ชนิดนี้ เพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ ในปุ๋ยหมักคุณภาพสูงส่วนใหญ่มักมีจุลธาตุเหล่านี้ ปุ๋ยหมักจะค่อยฟื้นฟูดินเสื่อมคุณภาพให้กลับมาเป็นดินมีคุณภาพดีอีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจากมือใหม่หัดปลูกผัก
ขอให้ทุกคนโชคดี
coachnong