ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique)

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique)

เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ DFT และมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับประเทศไทย โดยการเพิ่มการไหลเวียนของอากาศและสารละลายธาตุอาหารพืช ลักษณะของระบบจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กโดยทั่วไปจะมีขนาด 2 × 7 เมตร หลังคามุงด้วยพลาสติกใสป้องกันแสงยูวี ทำให้ทนต่อแสงแดด อายุการใช้งานนาน 2 ถึง 3 ปี ด้านข้างเป็นมุ้งไนลอนป้องกันแมลง ดังนั้นระบบน้ำจะเป็นระบบปิด เป็นระบบที่มีการปลูกแพร่หลายระบบหนึ่งในประเทศไทย ผักที่ปลูกได้ดีและนิยมปลูกได้แก่ผักไทยเพราะมีระบบรากเยอะ

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ DRFT

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชระบบ DRFT

  1. ข้อดี ระบบไม่ยุ่งยาก ดูแลง่ายอุปกรณ์ต่างๆ สามารถหาและซ่อมแซมได้ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง ระบบการให้น้ำง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆในสารละลายได้ง่าย เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมการระบบการปลูก เช่นสามารถปลูกผักได้ถึง 8-12 ครั้ง/ปี และเป็นการปลูกในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันแมลงและฝนได้
  2. ข้อเสีย ราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก อุปกรณ์บางอย่างเสียหายได้ง่าย เช่น แผ่นโฟมปลูกจะหักได้ง่าย และอาจถูกทำลายโดยมดหรือหนู โรงเรือนอาจถูกลมแรงๆ ทำความเสียหายได้โดยเฉพาะพลาสติกหลังคา
ไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT

ไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT

องค์ประกอบของระบบ DRFT

  1. โรงเรือน เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 2 เมตร สูง 2 เมตร ยาว 7 เมตร ทำจากโครงเหล็กกลม หลังคาพลาสติกใสกันแสง UV ทำให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น มีหน้าที่กันฝนในหน้าฝน แต่จะมีปัญหาในหน้าร้อนจะทำให้ในโรงเรือนร้อนมาก ถ้ามีแสงมากเกินไปและอุณหภูมิสูงมากต้องมีการพรางแสงด้านบนด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ 50% หลังคาพลาสติกใสทั่วไปหนา 100-120 ไมครอน ด้านข้างบุด้วยตาข่ายพลาสติกกันแมลงและลม
  2. ถาดปลูกพืช อาจทำจากโฟมขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 0.9 เมตร สูง 0.15 เมตร หรือใช้กระเบื้องหรือวัสดุที่หาง่ายทำเป็นรางแทนได้ เพื่อประหยัดต้นทุน โดยขึ้นรูปเป็นร่องลูกฟูก ต้นพืชจะวางตัวอยู่ด้านบนของลูกฟูกนี้ ร่องด้านล่างลูกฟูกขนาดเล็กเป็นทางให้สารละลายไหลจำนวน 10 ร่อง ถาดปลูจะเรียนงต่อกันตามความยาวและปูด้วยพลาสติกดำเพื่อเป็นรางปลูกพืช สารละลายจะไหลอยู่ในรางปลูก ส่วนต้นพืชจะวางอยู่บนสันร่อง รากพืชจะเจริญตามร่องทั้งสองข้าง
  3. แผ่นปลูก เป็นแผ่นโฟม หรือแผ่นยาง แผ่นสมาร์ทบอร์ดก็ได้ ที่หาได้ง่าย ราคาถูก นำมาเจาะรู จำนวน 80 รู เพื่อใช้ปลูกพืช แผ่นปลูกวางอยู่ด้านบนของถาดปลูก
  4. อุปกรณ์ปรับระดับน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างต้นพืชและผิวน้ำ อุปกรณ์ปรับระดับน้ำของสารละลายในถาดปลูกพืช ทำหน้าที่ปรับระดับความสูงของสารละลายในถาดปลูกพืช จะปรับตามอายุของพืชเมื่อพืชต้นเล็กสารละลายจะสูงเพื่อให้แน่ใจว่ารากพืชแช่อยู่ในน้ำ และเมื่อพืชโตขึ้นจะลดระดับของสารละลายลดลง เพื่อให้เกิดช่องว่างอากาศระหว่างต้นพืชและสารละลาย เพื่อเป็นการเพิ่มการแตกตัวของออกซิเจนในสารละลาย จะทำให้รากพืชทำงานได้ดีขึ้นมีผลให้ผักโตเร็วขึ้น
  5. ปั้มน้ำ เป็นปั๊มขนาดเล็ก ใช้ในตู้ปลาทั่วๆไป มีหน้าที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารละลายในระบบปลูก โดยปั้มจะปั้มสารละลายทั้งจากถังสารละลายขึ้นไปในถาดปลูก สารละลายจะไหลผ่านร่องปลูกผ่านรากพืช และไหลกลับถังสารละลาย ผ่านทางอุปกรณ์ปรับระดับ
  6. ถังสารละลาย มีหน้าที่เก็บและรองรับสารละลายที่ไหลในถาดปลูกจากต้นรางน้ำไหลกลับสู่ถังสารละลาย โดยระบบหมุนเวียนของสารละลายในระบบ จะเริ่มจากปั๊มสารละลายจากถังเก็บสารละลาย และส่งผ่านไปยังท่อนำสารละลายลงในถาดปลูกจากต้นรางและไหลไปตามร่องน้ำผ่านรากพืชออกสู่ปลายราง ผ่านอุปกรณ์ปรับระดับน้ำและไหลกลับสู่ถังสารละลายอีกที่หนึ่ง ดังนั้นสารละลายจะไหลหมุนเวียนอยู่ในระบบ เป็นระบบปิด
ไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT

ไฮโดรโปนิกส์ ระบบ DRFT

ข้อมูลจาหหนังสือผักไฮโดรโปนิกส์ ฉบับชาวบ้าน

error: Content is protected !!