พื้นฐานการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ แบบ ง่ายๆ

พื้นฐานการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

พื้นฐานการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

พื้นฐานการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

เมื่อสร้างแปลงปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์สำเร็จแล้ว  มีหลักการปลูกเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวให้เข้าใจง่ายดังนี้

  • การเพาะกล้า

การเพาะเมล็ดไม่ว่าจะบนฟองน้ำ เพอนร์ไลท์ และอื่นๆ แนะนำให้หยอดเมล็ดเสมอผิววัสดุเพาะด้วยเหตุตามพันธุศาสตร์ของพืชที่ต้องการความชื้น ออกซิเจน หากหยอดลึกไปเมล็ดจะเน่า งอกช้า เพราะเมล็ดอาจจะจมน้ำ หรือลึกเกินไปทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการงอกของเมล็ด ตามหลักของพืชทั่วไปใบเลี้ยงพืชจะเจริญเติบโตในแนวย้อนแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อดึงใบหาแสงสำหรับการสังเคราห์แสง เมื่อเมล็ดงอกแล้วยาวประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ให้นำไปรับแสงรำไร 1 วัน  แล้วรับแสงจัดจนรากยาวจึงนำลงปลูกได้ สิ่งที่สำคัญคือ การให้ต้นกล้าแข็งแรง

เพาะต้นกล้าผักสลัด

เพาะต้นกล้าผักสลัด

  • การปลูกและการดูแลรักษา

วิธีการนำกล้าผักลงแปลงปลูก สามารถนำลงไปทั้งถ้วยได้เลย แล้วหมั่นวัดค่า pH รวมถึงค่า EC ซึ่งน้ำที่ใช้ต้องบริสุทธิ์พอสมควรคือ EC ไม่ควรเกิน 0.5 และ pH อยู่ระหว่าง 5.5 – 7.0 นั่นหมายถึงจำเป็นต้องมี่เครื่องวัดค่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว แนะนำให้ลองปลูกแล้วพืชจะบอกเองได้ว่าน้ำที่ใช้สามารถปลูกพืชได้หรือไม่ นอกจากนี้สิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชคือ

  1. แสงแดด พืชต้องการแสงอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง การรับแสงมากน้อย มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
  2. ความร้อน แสงย่อมมากับความร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประเทศไทยเป็นเมืองที่ร้อนมาก แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส และที่เหมาะที่สุดอยู่ที่ 29-31 องศาเซลเซียส และความร้อนเป็นตัวแปรสำคัญในการเกิดโรคทางรากของพืชไฮโดรโปนิกส์ เช่น โรครากเน่าจากเชื้อพิเทียม ดังนั้นจึงจำเป็นที่ควรคุมสารละลายไม่ให้ร้อนเกินไป เช่น การฉีดน้ำให้พืช ติดตั้งระบบพ่นหมอก ใช้ซาแรนพรางแสง
  3. อากาศ พืชประกอบด้วยธาตุอากาศเป็นมวลหลัก อากาศในที่นี้หมายถึง ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช เพื่อการเจริญเติบโตของพืช และการเลือกระบบปลูกจึงมีผลต่อการเจริญเติบโต เช่น การปลูกแบบน้ำนิ่งย่อมแตกต่างจากการปลูกแบบใช้ปั๊มน้ำ เพราะพืชจะได้ออกซิเจนมากน้อยไม่เท่ากัน
ระบบพ่นหมอก

ระบบพ่นหมอก

  • สารละลายหรือาหารของพืช

ไม่ว่าจะปลูกในดิน หรือปลูกแบบไร้ดิน พืชต้องการอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ ในดินมีสารอาหารที่พอเหมาะในการเจริญเติบโตหรือไม่ อยู่ที่การบำรุงดิน การชะล้างของฝน เป็นต้น แต่ในไฮโดรโปนิกส์ อาหารของพืชคือปุ๋ยที่อยู่ในรูปเคมี ที่จัดส่วนในอัตราส่วนที่เพียงพอต่อความเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้ ดินแต่ละพื้นที่ สภาพแวดล้อมแต่ละแห่ง ย่อมปลูกพืชได้ไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับการปลูกพืชแบบไร้ดิน สูตรปุ๋ยแต่ละสูตรอาจได้ผลผลิตที่แตกต่างกัน

ซึ่งโดยปกติจะใช้น้ำปุ๋ย AB แต่ถ้าต้องการให้เป็นออร์แกนิกส์ 100% ต้องใช้ระบบอคอวานิกส์เข้ามาช่วย แต่ธาตุอาหารก็จะไม่เพียงพอเท่าไหร่ หากปลูกพืชเพื่อการค้า ดังนั้นอย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องใช้ปุ๋ย AB เข้ามาช่วยเสริมธาตุอาหารให้ครบ แต่ใช้น้อยลงเพราะถ้าไม่ใช้ปุ๋ย AB ก็ยังไม่มีธาตุอาหาร องค์ประกอบที่เป็นของออร์แกนิกส์ครบ ค่อนข้างรวบรวมได้ยากมากทั้ง 13 ธาตุ

ผสมปู๋ย AB ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์

ผสมปู๋ย AB ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์

  • โรคและแมลงศัตรู

ในผักสลัดจะพบมาก คือ เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า โรคใบจุด วิธีการป้องกัน ถ้าหากทำเชิงการค้าคงต้องใช้สารเคมีเข้ามาช่วยบ้าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน แต่ที่สำคัญคือต้องเก็บเกี่ยวในระยะปลอดภัย ที่มาตรฐานกำหนด เช่น ยาฆ่าเชื้อราแมนโคแซบ (mancozeb) แต่ก่อนเก็บเกี่ยวต้องหยุดใช้อย่างน้อย 10 วัน ถ้าเป็นยาประเภททั้งน็อคและดูดซึมต้องรอยาหมดฤทธิ์อย่างน้อย 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกเพื่อการค้าให้ขอมาตรฐาน GAP เพื่อการันตีความปลอดภัย

ส่วนผักไทยจะต้องระวังเรื่องแมลงศัตรู เช่น หนอนชอนใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ อาจป้องกันโดยการปลูกพืชในระบบปิดเพราะตัวมุ่งจะช่วยป้องกันได้ 70-80%

มุ้งป้องปันศัตรูพืช

มุ้งป้องปันศัตรูพืช

ข้อมูลจากหนังสือไฮโดรโปนิกส์ฉบับชาวบ้าน

error: Content is protected !!