สูตรสารละลายธาตุอาหารเข้มข้น ของผักสลัด (ปุ๋ย AB)
อัตรา 1:100 จำนวน 1 ลิตร
ปุ๋ย A (Stock Soloution A)
สารละลาย | ปริมาณ |
แมกนีเซียมซัลเฟส (MgSO4) | 50 กรัม |
โพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) | 80 กรัม |
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) | 12.5 กรัม |
โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (MKP) | 8.5 กรัม |
แมงกานีสคีเลต (Mn-EDTA) | 0.4 กรัม |
จุลธาตุรวม | 0.5 กรัม |
วิธีผสมสารละลาย ปุ๋ย A
- การเตรียมปุ๋ย A ให้ชั่งธาตุอาหารตามปริมาณข้างต้น แยกแต่ละชนิดใส่ภาชนะ ชนิดละ 1 ใบ
- เมื่อชั่งธาตุอาหารสำหรับเตรียมปุ๋ย A เสร็จแล้ว จากนั้นเติมน้ำสะอาดลงภาชนะที่บรรจุธาตุดังกล่าว ผสมธาตุอาหารแต่ละตัวให้ละลายทั้งหมด แล้วนำสารละลายทั้งหมดเทรวมกัน จากนั้นให้ปรับปริมาณจนครบ 1 ลิตร จะ ปุ๋ย A ที่มีความเข้มข้น 1:100 เท่า
ปุ๋ย B (Stock Soloution B)
สารละลาย | ปริมาณ |
แคลเซียมไนเตรท (Ca(No3)2) | 100 กรัม |
เหล็กคีเลต (Fe-EDTA) | 3 กรัม |
จุลธาตุรวม | 0.3 กรัม |
วิธีผสมสารละลาย ปุ๋ย B
- การเตรียมปุ๋ย B ให้ชั่งธาตุอาหาร แต่ละชนิดใส่ภาชนะ โดยชั่งใส่ภาขนะแยกกัน
- เมื่อชั่งธาตุอาหารสำหรับเตรียมปุ๋ย B เสร็จแล้ว จากนั้นเติมน้ำสะอาดลงภาชนะที่บรรจุธาตุดังกล่าว ผสมธาตุสารอาหารแต่ละตัวให้ละลายทั้งหมด แล้วนำสารละลายทั้งหมดเทรวมกัน และปรับปริมาณจนครบ 1 ลิตร จะได้ปุ๋ย B ที่มีความเข้มข้น 1:100 เท่า
การผสมปุ๋ย A และ ปุ๋ย B
ดูดการละลายเข้มข้น A และ B ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน คือ 1:1 เช่น ต้องการเตรียมสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกผักสลัด 100 ลิตร จะต้องดูดสารละลายเข้มข้น A ปริมาตร 1 ลิตร เติมลงในน้ำและผสมให้เข้ากันทั้งหมด หลังจากนั้นให้ดูดสารละลายเข้มข้น B ปริมาตร 1 ลิตร ใส่ลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน จะได้สารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกผักสลัด ปริมาตร 100 ลิตร
แต่ถ้าต้องการเตรียมสารละลายสำหรับปลูกผักไทย ให้เตรียมโดยเพิ่มความเข้มข้นเป็น 2 เท่าของผักสลัด กล่าวคือต้องการเตรียมปลูกผักไทย 100 ลิตร จะต้องใช้สารละลายเข้มข้น A และ B อย่างละ 2 ลิตร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาค่า EC ที่เหมาะสมของผักแต่ละชนิดด้วย
ข้อมูลจากหนังสือผักไฮโดรโปนิกส์ฉบับชาวบ้าน