ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT (Nutrient Flim Technique)

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT คืออะไร

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT เป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ หนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ในรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่ 5 – 35 เซนติเมตร สูงประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ความกว้างของรางขึ้นอยู่กับ
ขนิดพืชที่ปลูก ความยาวของรางตั้งแต่ห้าถึง 20 เมตรสารละลายจะไหลอย่างต่อเนื่องอัตราไหลอยู่ในช่วงหนึ่งถึง 2 ลิตรต่อนาที

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT

ไฮโดรโปนิกส์ระบบ NFT

องค์ประกอบของระบบปลูกพืชแบบ NFT

  1. ถังเก็บสารละลาย โดยทั่วไปจะฝังอยู่ใต้ดินเพื่อป้องกันความร้อนและขณะที่น้ำ จากรางปลูพืชไหลลงในถังจะเป็นการเพิ่มการสลายตัวของออกซเจนอีกที่หนึ่ง ขนาดของถังเก็บสารละลายขึ้นกับปริมาณพืชในระบบและชนิดพืชที่ปลูกและความถี่ในการปรับค่า pH และ EC ถ้าถังที่ใช้มีขนาดเล็กจะต้องมีการเติมและปรับสารละลายบ่อย
  2. ปั้มสารละลาย อาจเป็นแบบปั๊มแช่อยู่ในสารละลายหรือแบบอยู่นอกถังถ้าเป็นแบบปั๊มแช่อาจใช้ปั๊มไดโว่เนื่องจากราคาถูกหาซื้อได้โดยทั่วไป  แต่ถ้าปั๊มแบบไม่ดีอาจจะเสียหายง่ายและเกิดการถ่ายเทความร้อนผ่านสารละลายโดยตรงทำให้สารละลายร้อน
  3. ระบบท่อนำสารละลายสู่รางปลูก เป็นท่อที่นำสารละลายจากปั๊มไปสู่หัวรางปลูกพืช ท่อนำสารละลายโดยทั่วไปจะฝังอยู่ใต้ดินส่วนที่พ้นดินจะใช้ท่อสีขาวเพื่อป้องกันการสะสมความร้อนต้องมีการคำนวณขนาดให้เหมาะสมกับปั้มที่ใช้ โดยทั่วไปถ้ารางปลูกพืชและสารละลายไม่ไกลกันมาก อาจให้ท่อขนาด 2 ถึง 2 นิ้วครึ่ง
  4. รางปลูกพืช จะมีขนาดความกว้างและความยาวต่างๆกันตามชนิดของพืชที่ปลูก หัวรางอาจทำจากวัสดุต่างๆ เช่น PVC พลาสติกหรือโลหะปลอดสนิม ซึ่งต้องบุภายในด้วยพลาสติก ขนาดรางมีตั้งแต่ 10 ถึง 30 เซนติเมตร ความยาว 5 ถึง 50 เมตรควรใช้รางสีขาวทำจากวัสดุ PVC และไม่ควรยาวเกิน 20 เมตรเพื่อป้องกันการสะสมความร้อนทำให้รากพืชขาดออกซิเจน
  5. ท่อนำสารละลายกลับสู่ถังสารละลาย  จะเป็นท่อขนาดใหญ่เนื่องจากการไหลกลับของน้ำจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างเดียว
รางปลูกไฮโดรโปนิกส์ NFT

รางปลูกไฮโดรโปนิกส์ NFT

ข้อดีและข้อเสียของระบบ NFT

  1. ข้อดี คือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องควบคุมการให้น้ำเนื่องจากระบบนี้มีการให้น้ำแก่พืชตลอดเวลา ระบบการให้สารละลายกับพืชไม่ยุ่งยากทำการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคพืชต่างๆในสารละลายได้ง่าย เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ไม่เสียเวลาในการเตรียมระบบปลูกเช่น สามารถปลูกผักสลัดได้ถึง 8 ถึง 10 ครั้งต่อปี
  2. ข้อเสีย คือราคาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ขาตั้งทำจากโลหะ เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะมีโอกาสที่ระบบจะเสียได้ง่าย และพืชจะถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว ต้องใช้น้ำที่มีสิ่งเจือปนอยู่น้อยถ้ามีสิ่งเจือปนคือพวกเกลือปนอยู่มาก ทำให้เกิดการสะสมของเกลือบางตัวที่พืชใช้น้อยหรือไม่ดูดใช้เลยสะสมอยู่ในสารละลายทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนสารบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลือง

ข้อมูลจาก หนังสือผักไฮโดรโปนิกส์ ฉบับชาวบ้าน

 

error: Content is protected !!